ชนิดของคำ
คำนาม (Noun) หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ มี 2 ประเภท คือ
A. Countable Noun คือ นามที่นับนับได้ ได้แก่ นามที่มีรูปร่าง นับเป็นชิ้นได้ จะใช้ a , an นำหน้าเมื่อไม่ชี้เฉพาะเจาะจง และสามารถทำเป็นพหูพจน์ได้ คือ อาจเติมคำ two, three, four, etc. ลงหน้าคำนามนั้นได้ เช่น two tables, three pencils
B. Uncountable Nouns คือ นามที่นับจำนวนไม่ได้ มีรูปเป็นเอกพจน์เสมอ ไม่มี article นำหน้า แต่จะใช้ the นำเมื่อชี้เฉพาะเจาะจง
กริยา (verb) คือคำหรือกลุ่มคำที่แสดงอาการหรือการกระทำของนาม สรรพนาม หรือประธานของประโยค แบ่งได้ 4 ชนิดคือ
1.Transitive verbs เป็นกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับข้างท้าย หากขาดกรรมรองรับ ความสมบูรณ์ขาดหายไป
2.Intransitive verbs เป็นกริยาที่ให้ความสมบูรณ์อยู่แล้วไม่จำเป็นต้องมีกรรมรองรับข้างท้าย
3. Linking verbs เป็นกริยาใช้เชื่อมประธานของประโยคเข้ากับตัวขยายซึ่งอาจจะเป็นนามหรือคุณศัพท์ก็ได้ เพื่อแสดงสภาพอะไรสักอย่าง (a state of being) ได้แก่ be, seem, appear, look, become, get, turn, taste, feel, remain, sound, grow
4. Helping verbsเป็นกริยาช่วย ที่นำมาใช้ร่วมกับกริยาแท้ ได้แก่ be, have, has, had, can, could, will, would, may, might, must, do, does, did, ought to
Adjective คือ คำคุณศัพท์ ทำหน้าที่ขยายคำนาม มีดังนิ้
1. Descriptive Adjective บอกลักษณะคุณภาพของคน สัตว์และสิ่งของเช่น
young, rich, new, god, black, clever, happy
2.Possessive Adjective แสดงความเป็นเจ้าของเช่น my, your, his, her, their, our, its
3.Quantitativt Adjective บอกปริมาณมาก้อยของนามที่นับไม่ได้ เช่น some, half, little, enough
4.Numeral Adjective แสดงจำนวนมากน้อย ของนามที่นับได้หรือแสดงลำดับก่อน- หลังของคำนามเช่น one , two, first, many
5. Demonstrative Adjective คุณศัพท์ที่ชี้เฉพาะคำนาม เช่น this, that, these, those
6. Interrogative Adjective คือคำคุณศัพท์ที่แสดงคำถาม เช่น which, whose, what เป็นต้น จะวางอยู่หน้าประโยคคำถาม ตัวอย่างเช่น
- Which way shall we go ?
- Whose dictionary is this ?
7. Proper Adjective คือคำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อประเทศ ทำหน้าที่ ขยายคำนามซึ่งมีความหมายว่า “เป็นของ หรือจากประเทศนั้นๆ ตัวอย่างเช่น Which way shall we go?
8. Distributive Adjective แสดงการแบ่งแยกหรือจำแนก เช่น each, every, either, neither
Pronoun ( คำสรรพนาม ) คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร คำสรรพนาม (pronouns ) แยกออกเป็น 7 ชนิด คือ
Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) เช่น I, you, we, he , she ,it, they
Possessive Pronoun ( สรรพนามเจ้าของ ) เช่น mine, yours, his, hers, its,theirs, ours
Reflexive Pronouns ( สรรพนามตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย เช่น myself, yourself,ourselves
Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเจาะจง ) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เจาะจง ) เช่น all, some, any, somebody, something, someone
Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น who, which, that
Adverb คือ คำที่ใช้ทำหน้าที่ขยายกริยา ขยายคุณศัพท์ หรือขยาย Adverb ด้วยกันเองก็ได้ จะขอ
ยกตัวอย่างพอสังเขปให้ดูต่อไปนี้
ขยายกิรยาเรียงไว้หลังกริยา
The old woman walks slowly. หญิงชราคนนั้นเดินอย่างช้าๆ
(slowly เป็น Adverb เรียงไว้หลังหริยา walks)
ขยายคุณศัพท์เรียงไว้หน้าคุณศัพท์
Saensak is very strong. แสนศักดิ์เป็นคนแข็งแรงมาก
(very เป็น Adverb เรียงไว้หน้าคุณศัพท์ strong)
ขยายกิรยาวิเศษณ์เรียงไว้หน้ากริยาวิเศษณ์
The train runs very fast. รถไฟวิ่งเร็วมาก
(very เป็น Adverb จึงเรียงไว้หน้า Adverb "fast")
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น